ประเภทของลวดสลิง
ประเภทของลวดสลิง
1.ลวดสลิงไส้เหล็ก
2.ลวดสลิงไส้เชือก
3.ลวดสลิงสแตนเลส
*****ลวดสลิงคือสิ่งสำคัญของการยก ดึง,ขึง,และ ลาก ที่สำคัญ บ่อยครั้งที่เราพบเจอกับอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับลวดสลิงที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือ ลวดสลิงขาด จึงทำให้เกิดความสูญเสียแก่ทรัพย์สินของท่าน เนื่องจากการเลือกใช้ลวดสลิงที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือ การใช้ลวดสลิงเกินความสามารถและประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักของเส้นลวดสลิง (บ่อยครั้งที่ผู้ใช้ลวดสลิงใช้ลวดสลิงเกินความสามารถหรือใช้เกินน้ำหนักที่ได้รับการกำหนดเอาไว้ของลวดสลิงเพราะทราบว่าลวดสลิงมีค่าความปลอดภัย 5 เท่า อาจจะทำให้ลวดสลิงเกิดการชำรุดหรือเสียหายได้ไวกว่าปกติ และ อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงลวดสลิงเก่า เพราะว่า การนำลวดสลิงเก่ามาใช้ถึงแม้มีราคาถูกแต่อาจไม่ได้รับความปลอดภัยที่เพียงพอ)*****
ลวดสลิงคือสินค้าที่จำเป็นในหลากหลายวงการอุตสาหกรรม ผู้ผลิตจึงคำนวณหาค่าการรับน้ำหนัก แรงดึงของลวดสลิง และค่าต่างๆของลวดสลิงได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและแม่นยำที่สุดก่อนที่จะยื่นเรื่องเสนอในขั้นตอนการผลิต เนื่องจากลวดสลิงเป็นสิ่งที่รองรับน้ำหนักของสินค้าต่างๆไม่ให้เกิดความเสียหายในแต่ละอุตสาหกรรมจึงมีความแตกต่างกันในการใช้ของลวดสลิง เหตุนี้จึงก่อให้เกิดความหลายหลายของลวดสลิง เช่น ลวดสลิงไส้เหล็กสีขาว ลวดสลิงไส้เหล็กสีดำ ลวดสลิงไส้เชือกสีขาว ลวดสลิงไส้เชือกสีดำ ลวดสลิงสแตนเลส ลวดสลิงเกลียวละเอียด ลวดสลิงเกลียวหยาบ ฯลฯ โดยปกติทั่วไปแล้วคนภายนอกอาจจะมองลวดสลิงเพียงแค่ผิวเผินไม่ได้มองถึงโครงสร้างหรือองค์ประกอบของลวดสลิงว่ามีแบบไหนอย่างไรบ้าง บางครั้งอาจนำลวดสลิงที่ผิดโครงสร้างไปใช้กับการใช้งานที่ผิด อาจก่อให้เกิดความสูญเสีย เสียหายแก่สินค้าและลวดสลิงได้ ทั้งนี้ก่อนนำไปใช้ควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ลวดสลิงเป็นอย่างดี ก่อนนำไปใช้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับท่านลูกค้าผู้มีอุปการะคุณ
ส่วนประกอบของลวดสลิง
ลักษณะทั่วไปของลวดสลิงจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3ส่วนประกอบใหญ่ๆ คือ แกนของลวดสลิง เกลียวของลวดสลิง และ จำนวนเส้นของลวดสลิง แต่ละเส้นของลวดสลิงจะมีความอิสระในตนเองที่ทำให้ลวดสลิงมีความแข็ง ความนุ่ม ความละเอียด หรือ ความหยาบในแต่ละประเภทของลวดสลิง ตัวอย่างเช่น (6*37 IWRC) ลวดสลิงไส้เหล็กมี6เกลียวแต่ละเกลียวมีเส้นลวดสลิงจำนวน37เส้น
เกร็ดความรู้การนำลวดสลิงไปใช้อย่างถูกวิธี
1.เราควรรู้จุดประสงค์ของงานที่เราจะนำลวดสลิงไปใช้เพื่อความถูกต้องในขนาดของลวดสลิง การรับน้ำหนักที่ถูกต้อง
2.ลวดสลิงในแต่ละขนาดจะมีการรับน้ำหนักที่มีความแตกต่างกันไปฉะนั้นเราควรปรึกษาวิศวกร วิทยากรเกี่ยวกับลวดสลิง หรือ บุคคลที่มีความรู้ที่ถูกต้องเ
กี่ยวกับการใช้ลวดสลิง
3.ลวดสลิงมีความแข็งและนิ่ม ตามโครงสร้างของลวดสลิงหากเส้นลวดของลวดสลิงมีขนาดใหญ่จะทำให้สลิงมีความแข็งมาก(บิดตัวยาก) สลิงนิ่ม(บิดตัวง่าย)
ขึ้นอยู่กับหน้างานที่นำลวดสลิงไปใช้ เนื่องจากงานในอุตหาหกรรมในประเทศไทยส่วนใหญ่มีความหลากหลายมากจึงควรระบุให้แน่ชัดว่าควรจะใช้ลวดสลิงแบบไหนเพื่อนที่จะตรงตามจุดประสงค์
4.ลวดสลิงขนาดเล็กจนถึงลวดสลิงขนาดกลางและขนาดใหญ่ ลวดสลิงไส้เหล็กนินมหรือเหมาะเเก่งานในน้ำหรือทะเล เพราะว่า เหล็กไม่อมน้ำเหมือนลวกสลิงไส้เชือก ทำให้ลวดสลิงมีการเสื่อมสภาพตัวช้ากว่า
5.การรัดหรือการนำลวดสลิงมาประกบกันทำได้ 2 วิธีใหญ่ๆ
5.1 การใช้กิ๊บจับลวดสลิง นิยมใช้กันประมาณ2-3 ตัวต่อหัวสลิงสลิง 1 ข้าง
5.2 เป็นการใช้เครื่องไฮดรอลิกส์ในการอัดตัวปลอกอลูมิเนียมเข้ากับตัวเส้นลวดสลิง วิธีที่2นี้จะไม่สามารถเเก้ไขอะไรได้เนื่องจากตัวปลอกอลูมิเนียมจะห่อหุ้มลวดสลิงและเป็นเนื้อเดียวกันกลมเกลียวกันเป็นหนึ่งเดียว
ลวดสลิงถักหัว+อัดปลอก
เป็นการนำลวดสลิงไส้เหล็ก มาเข้าหัวให้มีลักษณะ โค้งงอตามขนาดที่เราต้องการ เพื่อที่ะนำไปคล้องกับเครนในโรงงานการผลิตต่างๆให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากที่สุดโดยปกติเเล้วหัวของลวดสลิงจะมีขนาด 30-45ซม. เป็นมาตรฐานทั่วไปที่ทางวิศวะกรได้ระบุเอาไว้ ทั้งนี้หัวของลวดสลิงสามารถเปลี่ยนแปลกได้ตามงานหรือไซด์งานที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการใช้งาน เราสามารถจัดประกอบลวดสลิงยกน้ำหนักขนาด 1ตัน-7ตัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครื่องอัดปลอกระบบไฮดรอลิกส์แรงบีบอัด 1000ตัน จึงรับรองได้ว่าลวดสลิงที่ได้มีการอัดปลอกจากเครื่องปัดปลอกของเราจะมีควมเหนียวแน่นเป็นพิเศษ ไม่สามารถหลุดได้ ยกเว้นในกรณีใช้สลิงจัดประกอบในทางที่ผิดหรือลวดสลิงมีการเสื่อมสภาพตามระยะเวลาและการใช้งาน ทั้งนี้เราควรเลือกสลิงที่มีลักษณะใหม่ในการใช้งานแต่ละครั้งเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า เราจัดหา-ใช้ อุปกรณ์ที่ได้รับความมั่นใจในระดับมาตรฐาน ขั้นตอนและวิทีอัดปลอกตามโรงงานที่ผลิตจากประเทศสิงคโปร์ ได้แนะนำการอัดปลอกได้อย่างมีคุณภาพ วางใจ เชื่อมั่นในสินค้าของเราได้
ราคาลวดสลิงสามารถโทรติดต่อสอบถามได้ตลอดเวลา เบอร์ติดต่อ 0851093622, 0859492545 หรือ Line ID : kmk945 หรือสามารถสอบถามได้ทาง E-mail : ratchakrit.nicha@gmail.com ทางเรามีผู้ให้บริการทางด้านราคาลวดสลิง ลวดสลิงราคา ลวดสลิง พร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งานของลวดสลิงได้เป็นอย่างดี ให้ผู้ใช้งานพึ่งพอใจสูงสุดในการรับการบริการจาก หจก.ค้ามั่นคงสตีล สามารถจัดส่งสินได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ สามารถติดต่อพนักงานฝ่ายขายได้โดยตรง 0851093622, 0859492545
ลวดสลิงสแตนเลส ลวดสลิง นิยมนำไปใช้ขึงสนามเวทีมวยทั้ง4ด้านให้มีลักษณะ ขึง ตึง โดยนำไปใช้ควบคู่กับอุปกรณ์เชื่อม เช่นเกลียวเร่ง หรือ สเก็นในรูปแบบต่างๆที่ทางสถาปนิกได้ออกแบบไว้ทั้งนี้ขนาดของลวดสลิงที่นิยมนำไปใช้คือ ลวดสลิง 12 มม. (ไส้เหล็ก+ไส้เชือก+สแตนเลส) เราสามารถแบ่งลวดสลิงตามจำนวนที่ทางลูกค้าต้องการได้อย่างเหมาะสม
ลวดสลิงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากที่สุดของเครื่องจักรและสิ่งก่อสร้างเกือบทุกชนิด ลวดสลิงสแตนเลสประกอบไปด้วยขดลวดโลหะถักเป็นเกลียวรอบแกนกลาง ลวดสลิงจึงมีหลายประเภทหลายชนิดที่ถูกออกแบหรือสร้างขึ้นมีให้เหมาะสมกับการใช้งานที่มีลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วส่วนใหญ่จะเป็นเส้นลวดเหล็กทำให้เป็นขดลวดพันรอบๆซึ่งกันและกัน ซึ่งแกนกลางของลวดสลิงสามารถทำได้จาก เหล็ก เชือก หรือพลาสติก
การจำแนกหรือแบ่งประเภทของลวดสลิง สามารถแบ่งได้ในหลายรูปแบบหลายปัจจัยเช่น ขนาด,เกรดที่ใช้ทำลวดสลิงและวิธีตีเกลียวจำนวนของลวดหรือจำนวนเส้นลวดในแต่ละเส้น/ขด อาจจะดูซับซ้อนสำหรับผู้ซื้อรายใหม่หรือบุคคลที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับลวดสลิงเนื่องจากลวดสลิงหากเราวัดหรือดูจากด้านนอกเราจะไม่สามารถรับรู้ถึงโครงสร้างภายในหรือแกนของลวดสลิงได้จึงต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์และความชำนาญพิเศษในการระบุว่าเป็นลวดสลิงชนิดไหน เกรดอะไร เพื่อที่จะได้รับสินค้าที่ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของลูกค้า
แกนหรือไส้ของลวดสลิงมี 3 ชนิดคือ
- แกนหรือไส้แบบ IWRC ย่อมาจาก (Independent Wire Rope Core) ปกติลวดสลิงโครงสร้างเกลียว 7*19 IWRC จะมีความแข็งแรงมากสามารถรองรับกับการยึด ดึง ขึง และรองรับกับการใช้งานทั้งด้านการโค้งงอได้ดีกว่าแกนกลางประเภทFier มีความทนทานต่อการบีบอัดและการเสียรูปได้ดีกว่า
- แกนหรือไส้แบบ WSC (Wire Stand Core) เป็นเส้นลวดเดี่ยวแทนที่เป็นขดลวดสลิงถักเป็นเกลียวลวดสลิง WSC มีค่าความแข็งแรงสูงและใช้งานอยู่กันที่เป็นส่วนใหญ่
- แกนหรือไส้แบบไฟเบอร์ (Fiber) ซึ่งปกติมักทำด้วยเส้นใยพืช (ลวดสลิง) แต่อาจจะใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกได้ ลวดสลิงชนิดนี้มีควำมแข็งแรงน้อยกว่าลวดสลิงที่มีแกนเป็นเหล็ก แต่มีความยืดหยุ่นสูงกว่ามักใช้กับเครนเหนือศีรษะ
วิธีการเรียงกันของลวดสลิง
- Right lay ลวดสลิงมีทิศทางการหมุนของขดลวดไปทางขวา โดยให้สังเกตจากการตีเกลียวออกจากตัวของผู้สังเกตการณ์ เมื่อวางในแนวราบ
- Left lay ลวดสลิงมีการหมุนของเกลียวขดลวดไปทางซ้าย
- Regular lay ลวดสลิงมีการตีเกลียวขดเส้นลวดในทิศทางที่ตรงกันข้าม (ขวาง) กับการตีเกลียวของขดลวด
- Lang lay เส้นลวดในขดลวดมีการตีเกลียวในทิศทางเดียวกับการตีเกลียวของขดลวดในสลิง
ลวดสลิงมีองค์ประกอบดังนี้
1.เส้นลวด (wire) เป็นองค์ประกอบที่ย่อยที่สุดของลวดสลิง
2.กลุ่มเส้นลวดสลิง (Strand) เกิดจากการรวมตัวของเส้นลวด (wire) ด้วยการตีเกลียว
3.แกนของลวดสลิง (Core) ตามทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิดคือ 3.1 ชนิดที่เป็นไฟเบอร์ หรือ ไส้เชือก ( Fibre Core) และ 3.1ชนิดที่เป็นลวดเหล็กหรือไส้เหล็ก (Wire Core)
ลวดสลิง (Wire rope) เกิดจากกรรวมตัวของแกนของสลิง (Core) และกลุ่มของเส้นลวด (Strand) หลายๆกลุ่ม
ชนิดแกนกลางของลวดสลิง
แกนกลางของลวดสลิงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามโครงสร้างคือ
- FC ลวดสลิงไส้เชือก อาจจะทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น มะนิลา , ปอ หรือวัสดุสังเคระห์พวกไนล่อน เหมาะแก่การใช้กับงานที่ต้องการความอ่อนตัวสูง และ ความยืดหยุ่นสูง แต่ทนกับการกดทับ ดึง ลาก ได้ไม่ดีมากนัก
- IWRC ลวดสลิงไส้เหล็กเป็นลวดสลิงที่ทนต่อการ กด ทับ ดึง ลากได้ดีกว่าไส้เชือกมากสามารถมีความทนต่อการ งอ บิด โค้งได้หลายครั้ง รวมถึงการกระตุกหรือกระชากจากการยกน้ำหนัก โดยปกติทั้วไปลวดสลิงไส้เหล็กสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าลวดสลิงไส้เชือกถึง 5%
ทิศทางการตีเกลียวของเส้นลวดสลิงทั้งหมด
เราสามารถดูทิศทางการตีเกลียวของเส้นลวดสลิง และเกลียวของลวดสลิงทุกชนิดได้ ลวดสลิงไส้เหล็กมีความอ่อนตัวสูงและทนทานต่อการใช้งานหรือการสึกกร่อน โดยสามารถจำแนกทิศทางของกลุ่มลวดสลิงทั้งหมดที่มีใช้อยู่ในอดีต - ปัจจุบัน ทั้งหมดได้ดังนี้
1.1 กลุ่มเส้นลวดสลิงเวียนไปทางด้านขวา (RH): เส้นของลวดสลิงที่เราดูจะเห็นได้ว่ากลุ่มลวดสลิงจะพาดจากด้านซ้ายมายังด้านขวาล่าง
1.2 กลุ่มเส้นลวดสลิงเวียนไปทางด้านซ้าย (LH): เส้นของลวดสลิงที่เราดูจะเห็นได้ว่ากลุ่มลวดสลิงจะพาดจากด้านซ้ายล่างไปยังขวาบน
พื้นฐานการใช้งานของลวดสลิงแต่ละประเภท
- a) ลวดสลิงไส้เหล็กสีขาว เหมาะแก่งานดึง ขึงทุกประเภทให้มีลักษณะตึงเป็นเส้นตรงแนวยาวตลอด
- b) ลวดสลิงไส้เหล็กสีดำ เหมาะแก่งานที่จำเป็นต้องใช้น้ำหนัก เช่น การยก การลาก เป็นต้น
- c) ลวดสลิงสแตนเลส เหมาะแก่งานแสดงสินค้าต่างๆเพราะลวดสลิงสแตนเลส มีความเงางามและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าลวดสลิงชนิดอื่นๆ
ลวดสลิงหรือลวดสลิงไส้เหล็ก คือ กลุ่มของลวดเหล็กกล้าขนาดเล็กและใหญ่ที่มีการตีเกลียวรอบแกนจนกลายเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งการใช้งานเชือกลวดเหล็กกล้าของไทย จากทางสถิติได้พบว่าในแต่ละปีประเทศของเราได้มีความต้องการใช้ลวดสลิงทั้งหมดประมาณ 50, 000 ตัน ซึ่งผู้ใช้งานจะอยู่ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งก่อสร้าง ขนส่ง เรือ เหมือง เช่น ทำสลิงสำหรับขึงยึดสะพาน ขึงลิฟต์ ปั้นจั่น รอก เครน รถยก เรือประมง ทำรั้ว ลวดยึดโครงหลอดไฟ นอกจากนี้บางส่วนจะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายเบรกจักรยาน ที่คล้องประตู เป็นต้น
วิธีการและขั้นตอนการผลิดลวดสลิง
การผลิตลวดสลิงเหล็กกล้าเป็นอุปกรณ์ที่ต่อเนื่องมาจากการผลิตเหล็กลวดคาร์บอนสูง (High carbon steel wire rods) ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นเกรด SWRH 67, SWRH 62B และ SWRH 72B (2) ตามมาตรฐาน JIS G3506 โดยส่วนผสมทางเคมีที่เลือกใช้จะมีผลต่อการนำไปลดขนาด รวมถึงค่าความเค้นแรงดึง (tensile strength), ความต้านทานต่อความล้า (fatigue resistance) และความต้านทานต่อการสึกหรอ (wear resistance) ของผลิตภัณฑ์เชือกลวดเหล็กกล้า
กระบวนการผลิตลวดสลิงไส้เหล็กกล้า
การผลิตลวดสลิงไส้เหล็กกล้าส่วนใหญ่จะมีการชุบสังกะสีเพื่อป้องการการสึกกร่อนได้ในระดับหนึ่ง ลวดสลิงเหล็กกล้าชนิดที่ไม่ได้เคลือบสังกะสี โดนทั่วไปจะเรียกว่า “bright wire” สำหรับลวดเหล็กที่ทำการเคลือบสังกะสีจะเพิ่มคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนในสภาพใช้งานให้ดีขึ้นกว่าปกติถึง1-3เท่า ซึ่งกระบวนการเคลือบสังกะสีสามารถทำได้ทั้งแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanized) หรือเคลือบด้วยไฟฟ้า (electrogalvanized) และสามารถผลิตได้ 2 วิธีดังนี้
- ทำการเคลือบสังกะสีกับลวดเหล็กที่ผ่านการดึงเย็นก่อนที่จะนำไปตีเกลียว โดยทำการดึงลวดเหล็กให้มีขนาดเล็กกว่าขนาดลวดเหล็กที่ต้องการ จากนั้นเมื่อนำไปชุบ ความหนาของชั้นเคลือบจะทำให้ลวดเหล็กได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับที่ต้องการ ซึ่งวิธีนี้จะมีผลทำให้ความแข็งแรงของลวดลดลงประมาณ 10% จากเดิม (เทียบกับขนาดเดียวกันของลวดเหล็กที่ไม่ได้ชุบสังกะสี)
- ทำการชุบสังกะสีก่อนที่จะดึงลดขนาดลวดสลิงในครั้งสุดท้าย วิธีนี้จะทำให้ได้ความหนาของชั้นเคลือบที่บางกว่าแบบแรก แต่จะทำให้ได้ลวดเหล็กที่ผ่านการชุบมีความแข็งแรงเท่ากับก่อนการชุบ (เทียบกับขนาดเดียวกันของลวดเหล็กที่ไม่ได้ชุบสังกะสี)
เทคนิคการดูแลรักษาลวดสลิง ให้ดูดีและใหม่อยู่เสมอ
เทคนิคการดูแลรักษาลวดสลิงให้ดูดีเสมอ และใช้ลวดสลิงให้ถูกต้องและถูกวิธี
เพื่อทะนุถนอมอายุการใช้งานลวดสลิงของท่านให้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว
- รับน้ำหนักมากเกินไปไม่เป็นผลดี
ในสภาพการใช้งานที่ได้รับน้ำหนักจนมากเกินไป อาจจะทำให้ลวดสลิงตึงมากเกินไปจนเกิดการขาดได้ เราควรเผื่อน้ำหนักให้ลวดสลิงได้รักษาความแข็งแรงของเส้นลวดสลิงไว้เผื่อใช้งานได้ในระยะยาว
- การนำลวดสลิงไปดึงหรือลาก
ในการใช้ลวดสลิงนั้น ลวดสลิงสามารถแบ่งออกได้หลากหลายโครงสร้างเราควรเลือกใช้ลวดสลิงที่มีโครงสร้างที่เหมาะสมแก่งานดึกลากรวมถึงน้ำหนักที่จะใช้ในการลาก หากทางผู้ใช้ไม่ทราบรายละเอียดทางเทคนิคควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ก่อนนำไปใช้งานจริง
- อย่าใช้ลวดสลิงมือสอง
ลวดสลิงมือสองมีราคาที่ถูก แต่เราควรคำนึงถึงการใช้งานและความปลอดภัยเป็นหลักเนื่องจากผู้ใช้งานลวดสลิงอาจจะดูลวดสลิงไม่เป็นว่าควรเลือกใช้ลวดสลิงแบบ หรือลวดสลิงมือสองของท่านใช้งานไปมากน้อยเพียงใด
- หมั่นตรวจดูลวดสลิงทุกครั้ง
เราควรมีช่างเพื่อตรวจสอบลวดสลิงทุกครั้งก่อนใช้งานจริง และมีการเก็บรักษาที่ถูกต้องทุกครั้งเพื่อยืดอายุการใช้งานของเส้นลวดสลิงให้อยู่ในสภาพยืดหยุ่นในตลอดเวลา
- ไม่ควรเอาน้ำกรดเทใส่ลวดสลิง
ในการทำวิจัยบางสถาบันหรือบางบริษัท อาจจะใช้ลวดสลิงเป็นส่วนประกอบแต่ไม่ควรนำน้ำกรดเทใส่ลวดสลิงเพราะอาจจะทำให้ลวดสลิงขึ้นสนิมได้อย่างรวดเร็วและทำให้ลวดสลิงกรอบได้
ลวดสลิงสแตนเลส หรือ ลวดสลิงหล็กกล้าไร้สนิม คืออะไร ?
“ลวดสลิงเหล็กกล้าไร้สนิม”
เป็นชื่อที่ใช้เป็นทางการเพื่อเรียกเหล็กกล้าผสมโครเมียมและนิกเกิลชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนได้ดีลวดสลิงเหล็กกล้าไร้สนิมแปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “stainless wire rope” ถ้าแปลตรงตัวของคำว่า “stainless” สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 คำได้ว่า stain + less แปลว่า สเตน + น้อย หรือ เป็นคราบด่างพร้อยน้อย หรือที่คนส่วนใหญ่สามารถเข้าใจได้ว่า สนิม ดังนั้นเราอาจจะเข้าใจได้ว่าการเกิดสนิมน้อย
“steel” แปลว่าเหล็ก ซึ่งคำนี้เราหลายคนส่วนใหญ่จะรู้จักกันมาก “stain” ดังนั้นถ้าเราเอาสองคำนี้มารวมกันจะเข้าใจได้ว่า “เหล็กกล้าไร้สนิม” (เพราะคำว่า “ไร้” หมายถึงเล็กหรือน้อย) บุคคลทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าสแตนเลสเป็นเหล็กที่จะไม่เกิดสนิมหรือคราบด่างพร้อย ซึ่งเป็นการคิดหรือการแปลที่ผิด “เหล็กกล้าไร้สนิม” แม้ว่าคำ คำนี้อาจจะไม่ได้เป็นคำไทยอย่างเป็นทางการ แต่ไม่ได้นิยมใช้ในแวดวงการค้าเหล็กหรือโลหะ แต่เรามักเข้าใจกับการเรียกทับคำศัพท์ “stainless” หรือ “สแตนเลส”
วิธีการรักษาป้องกันเนื้อผิวเหล็กไม่ให้เกิดสนิมนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี เช่น 1.การเคลือบผิวเหล็ก เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเหล็กได้สัมผัสกับอากาศและน้ำโดยตรง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทาสี การชุบด้วยโลหะ อาทิ ดีบุก สังกะสี วิธีนี้มักใช้กับชิ้นงานขนาดเล็กหรือกลาง อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของวิธีนี้คือ ผิวเคลือบชนิดนี้ สามารถหลุดออกได้ง่าย ทั้งทางกายภาพและเคมีซึ่งจะทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศและเกิดสนิมขึ้น ยิ่งกว่านั้นผิวเคลือบบางชนิด เช่น ดีบุก ยังสามารถเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการเกิดสนิมให้เร็วขึ้นอีกด้วย
วิธีต่อมาคือการทำเป็นเหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel) โดยการเติมธาตุอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ ขึ้นบนผิวเหล็ก เช่น โครเมียม นิกเกิล ธาตุเหล่านี้จะสร้างฟิล์มบางๆ ที่ติดแน่นบนผิวเหล็ก ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับบรรยากาศโดยตรง ผิวเคลือบชนิดนี้มีความคงทนทั้งทางกายภาพและเคมี เหล็กกล้าไร้สนิมมีหลายเกรด แต่ละเกรดก็จะมีส่วนผสมที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานแต่ละประเภท
การใช้ลวดสลิงที่ถูกต้องควรใช้ลวดสลิงให้พอดีกับหน้างานที่ได้ร้บมาเพื่อความสมดุลและไม่เกิดรอยต่อระหว่างเส้นทำให้ลวดสลิงใช้กำลังได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุดในการดึง หรือ ยก
เพิ่มระดับการยกที่ได้รับประสิทธิภาพ มาตรฐานกับลวดสลิงของเราเป็นลวดสลิงที่มีเกรดสูง
วิธีเก็บรักษาลวดสลิง ให้ใช้งานได้ยาวนาน
นอกจากการใช้งานลวดสลิงอย่างถูกวิธีแล้ว การเก็บรักษาลวดสลิง อย่างถูกวิธีก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ควรคำนึงถึงเพราะหาก เก็บรักษาลวดสลิง อย่างถูกต้องไม่เพียงแค่ช่วยให้ลวดสลิงมีอายุการใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น แต่ยังสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งวิธีการเก็บรักษาลวดสลิงอย่างถูกวิธีเพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน ควรปฏิบัติดังนี้
1.ในการขนย้ายลวดสลิงควรกระทำอย่างระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงการนำลวดสลิงไปสัมผัสกับของมีคม หรือกระทบกับมุมหรือขอบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายของลวดสลิง
2.ควรเก็บรักษาลวดสลิงในสถานที่ที่สะอาด และแห้งหรือมีความชื้นต่ำที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดสนิม
3.ควรจัดเก็บลวดสลิงโดยใช้ล้อ หรือ รอกเก็บลวดสลิงที่มีขนาดพอดีกับขนาดของลวดสลิง
4.หลีกเลี่ยงการหักมุมลวดสลิง เนื่องจากจะทำให้ลวดสลิงเกิดการปริและชำรุดเสียหายได้
5.ควรทำความสะอาดลวดสลิงอยู่เสมอ โดยใช้น้ำมัน เนื่องจากคุณสมบัติของสารหล่อลื่นประเภทน้ำมัน จะช่วยชะล้างทำความสะอาด ขจัดเศษวัสดุแปลกปลอมที่เกิดจากการบิด ถูหรือขัด ให้ออกจากลวดสลิงได้โดยง่าย
6.ควรทำให้ลวดสลิงมีความหล่อลื่นอยู่เสมอด้วยการใช้จาระบี Asphaltic (สารคล้ายยางมะตอย) หรือ น้ำมัน ชโลมลวดสลิงให้ทั่ว เพื่อช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างเกลียวลวดสลิง ลวดสลิง และที่บรรจุลวดสลิง อีกทั้งช่วยป้องกันการกัดกร่อน และการเกิดสนิมอีกด้วย
อย่างไรก็ตามควรหมั่นตรวจสอบลวดสลิงทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการใช้งาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหากใช้ลวดสลิง ที่ชำรุด และควรเก็บรักษาลวดสลิงให้ถูกวิธีตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ เพื่อให้สามารถใช้งานลวดสลิงได้อย่างยาวนาน มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
29 พฤษภาคม 2562
ผู้ชม 9503 ครั้ง