ติดต่อสอบถามโทร : 02-291-8460, 085-949-2545, 085-109-3622
LINE ID : @kmk945

KARMUNKONG

ผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย
ลวดสลิง โซ่ รอกและอุปกรณ์ยกทุกชนิด

ลวดสลิงดำ สลิง

หมวดหมู่สินค้า: สลิง

30 มิถุนายน 2562

ผู้ชม 13689 ผู้ชม

ลวดสลิง

เกิดจากการนำเส้นลวด (wire) มาตีให้กลายเป็นเกลียว (strand) แล้วนำแต่ละเกลียวมาตีเข้ารวมกันเข้ากับแกนกลาง (core) จนกลายเปนลวดสลิง (steel wire rope) เพื่อนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆต่อไป ส่วนลวดสลิงชุบกัลวาไนซ์หรือลวดสลิงขาวคือการชุบเส้นลวดก่อนกระบวนการผลิตซึ่งจะทำให้ลวดสลิงมีวามทนทานต่อความชื้นมากขึ้นแต่ความแข็งแรงของลวดสลิงก็จะลดลงประมาณ 10% เมื่อเทียบกับลวดสลิงดำปกติด้วยเช่นกัน

ชนิดของสลิงแบ่งตามแกนสลิง

1.สลิงไส้เหล็ก (Independent wire rope core: IWRC) - จะมีแกนที่เป็นลวดสลิงเพิ่มความแข็งแรง มีความทนทานต่อการกระแทก การบีบอัด และการเสียรูป รวมถึงทนความร้อนได้มากกว่าลวดสลิงไส้เชือก แต่จะความยืดหยุ่นน้อยกว่าลวดสลิงไส้เชือก

2.สลิงไส้เชือก (Fiber core: FC) - แกนกลางอาจจะทำมาจากเส้นใยธรรมชาติหรือวัสดุสังเคระห์ ทำให้ลวดสลิงชนิดนี้มีความแข็งแรงน้อยกว่าลวดสลิงไส้เหล็ก แต่มีความยืดหยุ่นสูงกว่า เหมาะแก่การใช้งานที่ต้องการความอ่อนตัวและความยืดหยุ่นสูง ช่วยรองรับแรงค่าความเค้นที่เกิดจาก shock loads ได้ดีกว่าลวดสลิงไส้เหล็ก นอกจากนี้ยังป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนเนื่องจากไม่ดูดซับความชื้น และทนต่อสภาพกรดหรือด่างอ่อนๆได้

3.ลวดสลิงสแตนเลส (Stainless Steel Wire Rope) - เหมาะสำหรับงานประดับตกแต่ง แสดงสินค้า งานที่เน้นความสวยงาม เนื่องจากลวดสลิงสแตนเลสมีความเงางาม อีกทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าลวดสลิงชนิดอื่นๆ เนื่องจากสามารถทนต่อความชื้นได้มากกว่าสลิงทั่วไปทำให้เกิดสนิมซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สลิงชำรุดได้ โดยถ้าเราแบ่งตามเกรดของสลิงสแตนเลสที่มีขายอยู่ในไทยจะมีอยู่ 2 เกรดคือ

   3.1. สลิงสแตนเลส 304 –สามารถปกป้องการเกิดสนิมและทนการกัดกร่อน จากสิ่งต่าง ๆ ได้ดี ในเรื่องราคาก็สมเหตุสมผล ใช้งานได้ทั่วไป     จึงเป็นเกรดที่นิยมใช้กันมาก ถือเป็นเกรดมาตรฐานเกรดนึง เลยทีเดียว

ขนาด (7x7)

ขนาด (7x19)

ขนาด (6x19)

0.4 mm (7x7)

3 mm.(7x19)

12 mm.(6x19)

0.6  mm (7x7)

4 mm.(7x19)

16 mm.(6x19)

0.8  mm  (7x7)

5 mm.(7x19)

19 mm.(6x19)

1 mm.(7x7)

6 mm.(7x19)

 

1.2 mm.(7x7)

8 mm.(7x19)

 

1.5 mm.(7x7 )

9 mm.(7x19)

 

2 mm.(7x7)

10 mm.(7x19)

 

2.4 mm (7x7)

12 mm.(7x19)

 

2.5 mm (7x7)

16 mm.(7x19)

 

3 mm.(7x7)

19 mm.(7x19)

 

4 mm (7x7)

 

 

   3.2. สลิงสแตนเลส 316 –ทนการกัดกร่อนจากสารเคมี ประเภท กรด น้ำเค็ม ได้ดีกว่าเกรด 304 จึงเป็นที่นิยม นำไปใช้ในอุตสาหกรรมเดินเรือ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นต้น

ขนาด (7x7)

ขนาด (7x19)

ขนาด (7x19)

1 mm.(7x7)

3 mm.(7x19)

10 mm.(7x19)

1.2 mm.(7x7)

4 mm.(7x19)

12 mm.(7x19)

1.5 mm.(7x7 )

5 mm.(7x19)

16 mm.(7x19)

2 mm.(7x7)

6 mm.(7x19)

19 mm.(7x19)

3 mm.(7x7)

8 mm.(7x19)

 

 

9 mm.(7x19)

 

   ทางร้านมีลวดสลิงหลากหลายขนาดและโครงสร้างจำหน่าย ลูกค้าสามารถสอบถามพนักงานขายเพื่อให้ได้สลิงที่ตรงกับการใช้งานของลูกค้าได้ ทางร้านมีขายสลิงทั้งปลีกและส่ง ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 0859492545 (คุณนัต) , 0851093622, 022918460, 022918461 หรือติดต่อทาง Line ได้ที่ Line ID: nutchao และ kmk945

โครงสร้างของลวดสลิงและวิธีการวัดสลิง

เชือกลวดเหล็กกล้าประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ลวดเหล็กกล้า (wire), ลวดตีเกลียว (strand) และแกน (core) ตามตัวอย่างรูปด้านล่างนี้

รูปภาพด้านล่างแสดงส่วนประกอบของสลิงและวิธีการวัดขนาดของลวดสลิงที่ถูกต้อง

วิธีการวัดสลิง

สลิงที่ทางร้านมีจำหน่ายคือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.80mm – 120.00mm ขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่ทางลูกค้าต้องการ ทางเรามีโครงสร้างต่างๆตามรูปด้านล่าง ซึ่งบางไซส์อาจต้องใช้เวลาผลิตและมีจำนวน และหากเราแบ่งตามโครงสร้างของสลิงก็จะสามารถแยกได้หลากหลายตัวอย่างเช่น 6x7 6x19+IWRC 6x19+FC 7x19 ฯลฯ ซึ่งเราได้นำแบบต่างๆคร่าวๆของสลิงมาแสดงให้ลูกค้าได้เห็นตามรูปภาพด้านล่างครับ

 สเปคสลิง

สเปคลวดสลิง

เกลียวของสลิง

1. ทิศทางของการตีเกลียว (lay direction for rope) โดยมีทั้งการตีเกลียวทางซ้าย และทางขวา

2. ทิศทางของลวดในลวดตีเกลียวแต่ละเกลียว (type of rope lay) ซึ่งโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ
    - แบบตีเกลียวธรรมดา (regular lay) เป็นลวดสลิงที่ถูกนำไปใช้งานหลากหลายที่สุด ซึ่งลวดจะเรียงตัวตรงไปตามความยาวของลวดสลิง (ลวดวางตัวในแนวที่ขวางกับทิศทางการตีเกลียว) โดยจะมีความต้านทานต่อแรงกระแทกมากกวางแบบแลงส์ และจะไม่มีการบิดตัวในขณะที่ใช้งานภายใต้การกระแทกที่รุนแรง ซึ่งลักษณะปลายข้างหนึ่งของลวดสลิงไม่ได้ถูกยึดให้อยู่กับที่ โดยการเรียงตัวแบบนี้ทำให้มีโอกาสเกิดรอยแตกและโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากแรงกระชากหรือการบิดตัวก็จะน้อยตามไปด้วย
    - แบบแลงส์ (lang's lay) เป็นลวดสลิงที่จะเรียงตัวทำมุมขวางกับแนวตามยาวของลวดสลิง (ลวดวางในแนวเดียวกับทิศทางของการตีเกลียว) ลวดสลิงแบบนี้จะมีความต้านทานต่อความล้า และการสึกหรอจากจากเสียดสีในขณะใช้งานดีกว่าลวดสลิงแบบธรรมดา (regular lay) ลวดสลิงแบบแลงส์จะมีความยืดหยุ่นดีกว่า และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าแบบธรรมดาประมาณ 15-20% แต่มีโอกาสที่เกิดรอยแตกมากกว่า และทนต่อแรงกระแทกได้น้อยกว่าแบบธรรมดา 

 

วิธีการตัดสลิงและการใช้กิ๊บจับสลิง

วิธีการตัดสลิงที่ถูกต้องจะต้องทำการมัดลวดที่ลวดสลิงให้แน่นระหว่างจุดที่เราจะตัดสลิงเพื่อไม่ให้ปลายของลวดสลิงแตกเอเราทำการตัดตามรูปภาพด้านล่าง

วิธีการใช้กิ๊บจับกับลวดสลิงที่ถูกต้อง จะต้องให้ขาของกิ๊บจับชี้ไปด้านสลิงเส้นยาวไม่ใช่ด้านที่เราขดสลิงกลับมาเพื่อทำเป็นห่วงเพื่อให้กิ๊บจับสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ป้องกันกิ๊บจับรูดออกจากตัวสลิง นอกจากนี้ควรใช้อุปกรณ์เช่นแหวนข้างปากตาย หรือบล๊อคขันน้อตที่กิ๊บจับให้แน่นไม่ควรใช้แค่มือขันแล้วนำไปใช้งานเด็ดขาด การทำเช่นนี้อาจทำให้ลวดสลิงรูดออกจากตัวกิ๊บจับได้ ตัวอย่างการรัดสามารถดูได้จากรูปภาพด้านล่างครับ

วิธีการตัดสลิง วิธีการใช้กิ๊บจับสลิง

 

ลวดสลิงและหลักเกณฑ์การใช้งาน

 ความแข็งแรงต่อแรงดึง (Tensile strength) ค่าความแข็งแรงนี้จะถูกคำนวณและเผื่อค่าไว้ในการเลือกใช้ ซึ่งเรียกว่า safety factor ซึ่งค่าความแข็งแรงนี้จะเป็นค่าที่ทนต่อแรงดึงสูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับเชือกลวดเมื่อใช้งาน

ความแข็งแรงต่อการกระแทก (Crushing strength) คุณสมบัติที่สำคัญ คือจะมีความต้านทานแรงอัดและแรงบิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับหน้าตัดของลวดสลิงในระหว่างการใช้งาน เช่น ลูกรอก (sheaves), กว้าน (hoist drums) ลูกกลิ้ง (rollers) โดยรูปแบบของเชือกลวดแบบ regular lay จะมีคุณสมบัตินี้ดีกว่าแบบ lang lay

ความต้านทานต่อความล้า (Fatigue resistance) รูปแบบของเชือกลวดแบบ lang ray จะมีคุณสมบัตินี้ดีที่สุด ซึ่งจะมีความทนต่อการดัดโค้ง และการบิดงอ การใช้ลวดเหล็กขนาดเล็กที่ด้านนอกของเกลียวเชือกลวดจะทำให้มีคุณสมบัตินี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากลวดตีเกลียวจะสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่า

ความต้านทานต่อการสึกหรอ (Abrasive resistance) โดยทั่วไปคุณสมบัตินี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ชนิดของโลหะและขนาดของลวดเหล็กที่อยู่ชั้นนอกของเชือกลวด โดยอัตราของการสึกหรอส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงกดที่เกิดจากลวดสลิง และความเร็วในการเคลื่อนที่ โดยการเลือกใช้ลวดที่มีความแข็งแรงสูงและมีขนาดใหญ่จะทำให้มีคุณสมบัตินี้สูงกว่าการใช้ลวดเหล็กขนาดเล็ก

ความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion resistance) เป็นคุณสมบัติที่มีความทนต่อการกัดกร่อนจากความชื้นในบรรยากาศ หรือสภาวะแวดล้อมในการใช้งาน โดยเชือกลวดที่ใช้กับงานที่อยู่กับที่ (static work) อาจจะมีวิธีการป้องกันโดยการทาสี หรือการใช้สารเคลือบอื่นๆ และยังมีการใช้สังกะสีเคลือบด้วย 
 
เทคนิคการดูแลรักษาลวดสลิง ให้ดูดีและใหม่อยู่เสมอ ทำยังไง?
เพื่อทะนุถนอมอายุการใช้งานลวดสลิงของท่านให้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว มีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้ ...
 
1. รับน้ำหนักมากเกินไปอาจไม่เป็นผลดี
    เราควรเผื่อน้ำหนักไว้ ให้ลวดสลิงได้รักษาความแข็งแรงของเส้นลวดสลิง เผื่อใช้งานได้ในระยะยาว เพราะในสภาพการใช้งานที่ได้รับน้ำหนักจนมากเกินไป อาจจะทำให้ลวดสลิงตึงมากเกินไปจนเกิดการขาดได้ และอาจทำให้เกิดอันตรายได้

2. การนำลวดสลิงไปดึงหรือลาก
    ควรมีความรู้ในเรื่องของการใช้งานลวดสลิงขนิดต้างๆ ให้ดีก่อน หากทางผู้ใช้ไม่ทราบรายละเอียดทางเทคนิคควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ก่อนนำไปใช้งานจริง ซึ่งในการใช้ลวดสลิงนั้น ลวดสลิงสามารถแบ่งออกได้หลากหลายประเภท เราควรเลือกใช้ลวดสลิงที่มีโครงสร้างที่เหมาะสมแก่งานดึกลากรวมถึงน้ำหนักที่จะใช้ในการลากด้วย

3. อย่าใช้ลวดสลิงมือสอง
   ลวดสลิงมือสองอาจจะมีราคาที่ถูก แต่เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ควรเลือกใช้งานสลิงที่มีสภาพดีหรือตรวจสอบสภาพของลวดสลิงที่ผ่านการใช้งานว่าถูกใช้งานไปมากน้อยเพียงใด

4. หมั่นตรวจดูลวดสลิงทุกครั้ง
   เพื่อยืดอายุการใช้งานของเส้นลวดสลิงให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา เราควรตรวจสอบสภาพของลวดสลิงทุกครั้งก่อนใช้งานจริง และมีการเก็บรักษาที่ถูกต้องทุกครั้ง

5. ไม่ควรเอาน้ำกรดเทใส่ลวดสลิง
   ในการทำวิจัยบางสถาบันหรือบางบริษัท อาจจะใช้ลวดสลิงเป็นส่วนประกอบ แต่ไม่ควรนำน้ำกรดเทใส่ลวดสลิงเพราะอาจจะทำให้ลวดสลิงขึ้นสนิมได้อย่างรวดเร็วและทำให้ลวดสลิงกรอบได้
 
การเข้าหัว (Terminations)

   ส่วนปลายของลวดสลิงนั้นจะแยกออกกันทั้นทีและไม่สามารถที่จะใช้ต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ จึงจะต้องมีวิธีการที่จะป้องกันไม่ให้ปลายของลวดสลิงนั้นแยกออกจากนั้น วิธีการที่ใช้กันมากที่สุดนั้นทำโดยม้วนปลาย เป็นห่วง ซึ่งจะมีประสิทธิภาพตั้งแต่ 70% สำหรับห่วงแบบ Flemish eye อย่างเดียว จนถึง 90% สำหรับห่วงแบบ Flemish eye และการ splice จนถึง 100% สำหรับ potted end และ swaging

 สลิงทำห่วง

ลวดสลิงเกลียวขวา (RHOL) เข้าหัวกับห่วงหัวใจและอัดปลอก

ห่วงหัวใจ (Thimbles)

   เมื่อลวดสลิงถูกม้วนเป็นห่วงปลายนั้น มีโอกาสที่ลวดสลิงอาจจะถูกบิดแน่นเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อห่วงนั้นต่อกับอปกรณ์ที่กระจาย น้ำหนักกระทำกับพื้นที่เล็กๆ ห่วงหัวใจจะถูกใส่เข้าไปในห่วงเพื่อจะรักษารูปทรงของห่วงและป้องกันสายลวดสลิงเสียหายจากแรงกดภายในห่วง การใช้ห่วงหัวใจนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด Best Practice ซึ่งช่วยป้องกันแรงกระทำหน้าสัมผัสกับลวดสลิงโดยตรง

 

 

 

 

 

Engine by shopup.com